หากจะกล่าวถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ซึ่งเป็นวิธีทำการตลาดที่พลิกโฉมจากการตลาดรูปแบบเดิมมาอยู่บนแพล็ตฟอร์มออนไลน์
เพราะข้อมูลของลูกค้าคือสิ่งสำคัญสำหรับการทำ Marketing นักการตลาดหรือธุรกิจจึงจำเป็นต้องต้องวิเคราะห์วางแผนตามแคมเปญและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งก็คือข้อมูลส่วนตัวที่สามารถสื่อหรือเชื่อมโยงไปถึงตัวบุคคลหรือลูกค้าคนนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขบัตรประชาชน เลขที่บัญชีธนาคาร เป็นต้น
การนำข้อมูลของลูกค้ามาทำการตลาด จะเลือกกลุ่มเป้าหมายที่สนใจสินค้าหรือบริการ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ จากข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ อาชีพ จากนั้นใช้ keyword ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาสินค้าหรือบริการออนไลน์ แต่ก่อนที่ฝ่าย Marketing จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้นั้น ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ดังนี้
การปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ให้สอดคล้องก็เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่ประสงค์ดีนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปใช้ ซึ่งก็อาจเกิดความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตามมาได้ นอกจากนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคธุรกิจต้องรับโทษตามกฎหมายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ซึ่งจะทำให้องค์กรที่ดูแลข้อมูลเสียความน่าเชื่อในการประกอบธุรกิจอีกด้วย
ความยินยอม (Consent) เกิดขึ้นได้จากการที่เจ้าของข้อมูลได้สมัครใจ “เลือก” ที่จะยินยอมให้ธุรกิจใช้หรือเก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยฝ่าย Marketing จะเป็นผู้เชิญชวนให้ลูกค้ายอมรับหรืออนุญาตให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล แต่หากลูกค้าเลือกที่จะปฏิเสธ ฝ่าย Marketing ก็สามารถเก็บข้อมูลนั้นได้ สิ่งที่น่าสังเกตคือ หากมีการเก็บข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเก็บไปจากเดิม ก็ควรจะต้องขอ Consent ใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรนำ Consent เดิมกลับมาใช้ใหม่ เพราะอาจผิด PDPA ได้
สำหรับการจัดการ Consent เพื่อเก็บข้อมูลของลูกค้าจะอยู่ในรูปแบบของฟอร์มกรอกข้อมูล ในการขอ Consent มีทั้งระดับ Consent ประเภทต่าง ๆ และ Cookie Consent โดยแบ่งได้ ดังนี้
เป็นการขอ Consent ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากจุดรวบรวมข้อมูลที่ถูกตั้งไว้เพื่อรับข้อมูลส่วนบุคคลในบริการต่าง ๆ เช่น Web Form, Email, APP SDK หรือ Custom API เป็นต้น การขอ Consent ประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับเว็บไซต์และแอพพลิเคชันที่มีการจัดเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ หรือมีการสมัครสมาชิก นอกจากการขอ consent แล้ว จำเป็นต้องแจ้งนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) ซึ่งองค์กรต้องจัดทำเพื่อใช้ในการขอจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลตาม PDPA
การทำ Consent ประเภทต่าง ๆ ยังต้องยึดหลักการขอ Consent คือ ต้องแจ้งวัตถุประสงค์การเก็บและประมวลผลข้อมูล (purpose of processing) เช่น ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า วางแผนแคมเปญ หรือการทำ Email Marketing โดยการให้ Consent ในส่วนนี้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถกดยอมรับหรือคลิกจาก link ได้ ส่วนการตั้งค่า ช่องทางการติดต่อ และการเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการรับข่าวสารมักใช้วิธีตั้งค่าผ่าน Preference Center
ตัวอย่างการจัดการ Consent ประเภทต่าง ๆ ผ่านการตั้งค่าบน Preference Center
หากเว็บไซต์มีการใช้คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล และ/หรือ ใช้ในการทำการตลาด จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล(ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์) ก่อน ถ้าไม่มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนอาจจะถือได้ว่ามีความเสี่ยงสูงต่อในหลักการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักประเภทของคุกกี้ที่เก็บบนเว็บไซต์ ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
ผู้ใช้งานจะเลือกเก็บคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้ เพราะมีความจำเป็นกับระบบการทำงานของเว็บไซต์ รวมถึงนโยบายความปลอดภัย เช่น ระบบ log in หรือการยืนยันตัวตนด้วย KYC
ผู้ใช้งานสามารถเลือกให้ consent การเก็บคุกกี้ประเภทนี้ได้ โดยคุกกี้ที่ไม่จำเป็นแบ่งย่อยได้อีกหลายประเภท เช่น
การขอ Cookie Consent โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการขอ Consent ผ่าน Cookie Banner ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวป็อปอัพที่เด้งขึ้นมาบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานกด accept หรือยินยอมการเก็บคุกกี้ และอาจมี link ให้คลิกอ่านรายละเอียดนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy) และตั้งค่าการเก็บคุกกี้แต่ละประเภทได้เอง Cookie Consent ที่ดี ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
ตัวอย่างการขอ Cookie Consent โดยใช้วิธีการขอ Consent ผ่าน Cookie Banner
การขอ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้า ถือเป็นหัวใจหลักในการทำ Marketing เพื่อให้สอดคล้องตาม PDPA นอกจากเรื่องการขอ consent แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำเป็นต้องจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) ซึ่งเนื้อหาที่องค์กรจัดทำจึงต้องมีความชัดเจน ครบถ้วน ซึ่งสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากนักกฎหมาย จาก PDPA.Pro ช่วยสร้าง Privacy Policy อย่างมืออาชีพ
ตัวอย่างรายละเอียดของนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
ด้านการจัดการ Consent ประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสำหรับเว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่นมีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการหรือใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อวิเคราะห์แคมเปญต่างๆ ส่วนเว็บไซต์ที่มีการจัดเก็บคุกกี้ ก็จะต้องขอ Cookie Consent โดยสามารถใช้เครื่องมือช่วยสร้าง Cookie Banner และแจ้ง Cookie Policy เพียงไม่กี่ขั้นตอน ง่ายๆ ได้ทันที เพียงเท่านี้องค์กรของคุณก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม PDPA แล้ว
บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
7 อาคารซัมเมอร์ พอยท์ ชั้นที่ 2 ซอยสุขุมวิท 69
แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย
โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com