Back

DPO คืออะไร ? ตัวช่วยดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่ไว้ใจได้

DPO คืออะไร ? ตัวช่วยดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่ไว้ใจได้



    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ PDPA ถือว่าเป็นกฎหมายที่สร้างความตื่นตัวอย่างมากในกลุ่มองค์กรธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจในปัจจุบันผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆ มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปรับปรุงรูปแบบสินค้าหรือบริการให้ตรงใจกลุ่มผู้บริโภคมากที่สุด

ในการเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวมผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กับเจ้าหน้าที่ที่คอยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Data Protection Officer (DPO) ซึ่งหน้าที่ของ DPO คือบุคคลที่จะเข้ามาคุ้มครองและดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวมเอาไว้ ตามอ่านต่อเพื่อทำความเข้าใจในตำแหน่งหน้าที่นี้ให้มากขึ้น

DPO คือใคร?

DPO หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) คือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กรก็ตาม โดยเจ้าหน้าที่ DPO นั้นจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ กำกับดูแลการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งองค์กรจะไม่สามารถห้ามไม่ให้ DPO ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือไล่ DPO ออกได้

ใครคือผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในตำแหน่ง DPO

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ DPO จะเป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ซึ่งผู้ที่จะมาทำหน้าที่ DPO คือบุคคลที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การประมวลผลข้อมูลองค์กร และสามารถกำหนดทิศทางของการเก็บรักษาข้อมูลนั้นๆ ให้ปลอดภัย ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็น DPO ได้มีดังต่อไปนี้

  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเชี่ยวชาญ
  • ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และโครงสร้างทางเทคนิคของบริษัท
  • ต้องมีความสามารถในการจัดการการปกป้องข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย
  • ควรเป็นหนึ่งในทีมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) หรือเป็นบุคคลในองค์กรเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงกับทุกคนในองค์กรได้
  • ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตำแหน่งเดิมที่ได้รับมอบหมาย หรือตำแหน่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

หน้าที่ของ DPO คืออะไร?

ตำแหน่ง DPO คือตำแหน่งที่มีความสำคัญในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหน้าที่ของ DPO และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้ยังรวมไปถึง

  • การให้ความรู้แก่พนักงาน เกี่ยวกับข้อกำหนดและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • ตรวจสอบการดำเนินการของผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูล และพนักงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและมีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในเชิงรุก
  • เก็บรักษาบันทึกที่ครอบคลุมกิจกรรมและการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดที่ดำเนินการโดยบริษัท รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูล ที่จำเป็นจะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อมีการร้องขอ
  • ประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ประสานงานกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิ์ในการลบข้อมูลส่วนบุคคล และมาตรการขององค์กรที่ใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

องค์กรควรที่จะต้องมี DPO หรือไม่

เจ้าหน้าที่ DPO คือบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการเก็บ ใช้ และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นจะต้องนำมาพิจารณาก่อนที่จะสรรหาบุคคลมารับตำแหน่ง DPO คือจำนวนของเจ้าของข้อมูล (Data Subject) จำนวนของหน่วยข้อมูล (Data Item) ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล สถานที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งหากองค์กรธุรกิจมีขนาดเล็กหรือไม่ได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล อาจจะไม่จำเป็นต้องจ้าง DPO เข้ามาทำหน้าที่ในส่วนนี้

เพิ่มความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าหน้าที่ DPO คือบุคคลที่จะเข้ามาดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บเอาไว้ให้ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลผ่านทางช่องทางใดก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ต้องเริ่มต้นที่การสร้าง Privacy Policy ให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน

PDPA Pro ผู้ช่วยที่จะทำให้คุณสามารถสร้าง Policy ได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาทีผ่านแบบฟอร์มของเรา เพื่อให้คุณได้รายละเอียดครบตามที่ต้องการ รวมไปถึงการสร้างแบบฟอร์มรับคำขอสิทธิต่างๆ จากเจ้าของข้อมูลอย่างง่ายดายได้ ที่นี่ และการสร้างแบนเนอร์คุกกี้ยินยอมบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ ที่นี่

สนใจคอร์สเรียน DPO เรียนได้ที่ https://learnpdpa.com/courses/pdpa-for-dpo

สร้าง Privacy Policy ง่ายๆ

อย่างมืออาชีพ ถูกต้องตาม PDPA

สร้าง Policy ตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

18/01/23

Data SecurityData PrivacyID Card

บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย

โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com

©2024 nDataThoth Limited All Rights Reserved.

HelpTerms of UsePrivacy Policy