Back

จัดกิจกรรมแจกของบน Facebook อย่างไรหลัง PDPA บังคับใช้

จัดกิจกรรมแจกของบน Facebook อย่างไรหลัง PDPA บังคับใช้



    การจัดกิจกรรมแจกของถือว่าเป็นวิธีการรวบรวมที่อยู่อีเมลใหม่ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่กฎหมาย PDPA ในปัจจุบันอนุญาตให้ใช้วิธีนี้หรือไม่ ? คำตอบคือใช้ได้ แต่องค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางให้เป็นไปตามกฎหมาย บทความนี้จะแนะนำได้ว่าองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีจัดกิจกรรมแจกของอย่างไรได้บ้าง

การจัดกิจกรรมแจกของยังสามารถทำได้ภายใต้ PDPA

“ตั้งแต่ PDPA เริ่มบังคับใช้ องค์กรจะเพิ่มรายชื่ออีเมลได้อย่างไรหากไม่สามารถจัดกิจกรรมแจกของได้อีกต่อไป ?” มีข้อกังวลแบบนี้ถามเข้ามามาก ซึ่งจริงๆ แล้ว องค์กรยังใช้การจัดกิจกรรมแจกของเพื่อเพิ่มรายชื่ออีเมลได้

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว กฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เริ่มมีผลใช้บังคับกับองค์กรธุรกิจในไทย และมีกฎหมาย GDPR เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป สำหรับกฎหมาย PDPA ยังถือว่าเป็นกฎหมายใหม่ และยังมีความเข้าใจผิดอีกมากโดยเฉพาะการแจกของรางวัลออนไลน์

ของแจกคืออะไร

ของแจกคือสิ่งที่องค์กรให้ฟรี เช่น เอกสารที่จัดทำเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้สนใจให้มาซื้อผลิตภัณฑ์จากข้อเท็จจริงที่องค์กรเตรียมไว้ (whitepaper), งานสัมมนาออนไลน์ (webinar), e-book หรืออาจเป็นการจับรางวัลชิงโชค ซึ่งนักการตลาดได้ทุ่มเททั้งเวลาและเงินเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มยอดการสมัครรับข่าวสารและโปรโมชันทางอีเมลให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ PDPA มีผลบังคับใช้ การทำการตลาดโดยโปรโมตว่า “แจกของฟรี” เช่น แจก whitepaper หรือให้ลุ้นรางวัลชิงโชค เป็นการเชื่อมโยงของสมนาคุณกับการให้ความยินยอมโดยปริยายของผู้บริโภค เพื่อรับข่าวสารหรือโปรโมชั่น ซึ่งแนวปฏิบัติทางการตลาดนี้เรียกว่า “gated content”

Gated content เป็นอย่างไรก่อนมี PDPA

Gated content คือ เนื้อหาที่ต้องมีการลงทะเบียนก่อนจึงจะเข้าดูหรืออ่านได้ ซึ่งเนื้อหานั้นเป็นสินค้าและบริการหลัก พูดง่ายๆ คือ ตัว content เป็นสินค้าหลักที่องค์กรขาย นอกจากการขายโฆษณาแล้ว เว็บไซต์จะต้องให้ผู้อ่านกด subscribe ก่อนถึงจะเข้าดูเนื้อหาได้ ในอดีต จะมีลิงก์สำหรับ “ดาวน์โหลดเอกสารแจกฟรี” เมื่อผู้อ่านที่สนใจกดไปที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลด จะพบแบบฟอร์มที่ต้องป้อนที่อยู่อีเมล เมื่อกรอกอีเมลเสร็จ ข้อมูลอีเมลจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูลขององค์กรโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกัน ผู้อ่านก็จะกลายเป็น subscriber รายใหม่ทันที และสามารถดาวน์โหลดเอกสาร PDF ได้ เอาเข้าจริงแล้วเอกสารแจกฟรี จึงไม่ใช่สิ่งที่ได้มาฟรีๆ เสมอไป

ทำไมองค์กรต่างๆ จึงเสนอของแจกฟรีในตอนแรก ?

เราคงเคยได้ยินคำว่าของฟรีไม่มีในโลก ซึ่งก็ใช้ได้กับของแจกในที่นี้เช่นกัน ทีมการตลาดได้ทุ่มทุนจัดทำเอกสาร whitepaper เพื่อผลทางการตลาดในอนาคต ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงเอกสาร whitepaper ที่เป็นแหล่งความรู้นี้ได้ สิ่งที่ผู้บริโภคต้องแลก ไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นข้อมูลอีเมลเพื่อรับข่าวสารโปรโมชั่น ซึ่งผู้บริโภคสามารถถอนความยินยอมเพื่อยกเลิกการรับอีเมลได้ทุกเมื่อ ทำให้การให้ข้อมูลอีเมลเพื่อแลกกับของฟรี ยังคงดึงดูดให้ผู้บริโภคเลือกรับแหล่งความรู้นั้น หรือโอกาสในการชิงโชครางวัลต่อไป

ทั้งนี้ ถ้าผู้บริโภคถอนความยินยอม องค์กรก็จะต้องหยุดทำการตลาดกับผู้บริโภครายนั้น นักการตลาดจึงต้องพยายามดึงความสนใจเหล่า subscriber ไว้

PDPA เปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดกิจกรรมของแจก

PDPA เปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดกิจกรรมของแจก

เมื่อ PDPA มีผลบังคับใช้ ได้ระบุให้การขอความยินยอมเพื่อสมัครรับอีเมลส่งเสริมการขายจะต้องชัดเจนและใช้ภาษาที่อ่านง่าย นี่คือกฎหมายที่บอกเราว่า 'ของฟรีไม่มีในโลก ดังนั้น จงหยุดบอกว่ามีของฟรีได้แล้ว'

กฎหมาย PDPA มาตรา 19 วรรค 4 ระบุว่าความยินยอมของเจ้าของข้อมูลต้อง "ให้โดยอิสระ" และ “ไม่มีเงื่อนไข”

การขอความยินยอมเพื่อสมัครรับอีเมลส่งเสริมการขายจะต้องชัดเจนและใช้ภาษาที่อ่านง่าย ถ้าคุณเสนอ “บริการหรือผลิตภัณฑ์ฟรี” แต่ยืนยันให้ผู้ใช้ตกลงที่จะรับข่าวสารหรือโปรโมชั่นทางอีเมลแสดงว่าคุณกำลัง“ บังคับให้ยินยอม” ไม่ใช่ “ให้โดยอิสระ” พูดง่ายๆ ก็คือ กฎหมายกำลังบอกว่า 'ของฟรีไม่มีในโลก ดังนั้น จงหยุดบอกว่ามีของฟรีได้แล้ว'

การรวบรวมเอกสารความรู้ที่ดีต้องใช้เวลาและความพยายาม และการแจกของก็มีมูลค่า ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องแจกของทุกอย่าง “ฟรีทั้งหมด” เพื่อให้การแจกของหรือการชิงโชครางวัลสอดคล้องตาม PDPA องค์กรจะต้องขอความยินยอมให้ชัดเจนโปร่งใสมากขึ้นเพื่อเก็บรวมรวมอีเมลของผู้ใช้

วิธีการแจกของแบบใหม่เพื่อเพิ่มรายชื่ออีเมล

นักการตลาดจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีโดยบอกอย่างชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่องค์กรเสนอ “เสียค่าใช้จ่าย” ซึ่งผู้บริโภคจะต้องจ่ายด้วยการให้ข้อมูลอีเมลแทนตัวเงิน รวมทั้งแจ้งผู้บริโภคว่ามีสิทธิถอนความยินยอมได้ทุกเมื่อ โดยมีข้อแนะนำที่น่าสนใจดังนี้

1) นำเสนอสิ่งแลกเปลี่ยน เช่น ที่อยู่อีเมลของคุณคือบัตรเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ของเรา, subscriber รายใหม่ประจำเดือนนี้จะได้รับ e-book เล่มล่าสุดทางอีเมล, ลงทะเบียนเพื่อรับเอกสาร whitepaper และรับข่าวสารเพิ่มเติมจากเรา

2) เลือกใช้คำอย่างระมัดระวัง การขอความยินยอมที่ชัดเจนโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดกิจกรรมแจกของตาม PDPA โดยการขอความยินยอมไม่ควรใช้คำที่ทำให้เข้าใจผิด เช่น "ฟรี" "ไม่มีค่าใช้จ่าย" หรือ "ไม่เสียค่าใช้จ่าย" ซึ่งของที่แจกเหล่านี้ไม่ใช่ของฟรี แต่มีมูลค่า และต้องใช้ข้อมูลอย่างเช่นอีเมลเพื่อให้ได้มา อย่าลืมว่าต้องแจ้งให้ผู้บริโภครู้ถึงข้อมูลนี้ด้วย

วิธีการแจกรางวัลชิงโชคแบบใหม่เพื่อเพิ่มรายชื่ออีเมล

การเพิ่มยอดสมัครรับอีเมลเพื่อลุ้นรางวัลชิงโชคเป็นเรื่องยากขึ้นนับตั้งแต่ PDPA มีผลใช้บังคับ แต่ก็ทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้นด้วย เมื่อผู้บริโภคเห็นว่าการขอ consent ให้สมัครรับอีเมลมีความโปร่งใส ไม่หลอกลวงให้ผู้บริโภคสมัครรับข้อมูลที่ไม่ต้องการ ก็จะทำให้ยอดสมัครรับอีเมลเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อแนะนำสำหรับวิธีการแจกรางวัลชิงโชคดังนี้

1) นำเสนอสิ่งแลกเปลี่ยนให้ชัดเจน เช่น แจ้งให้ทราบว่าเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการเข้าร่วมชิงโชคคือการสมัครรับอีเมล ตามกฎหมายการเข้าร่วมชิงโชคถือเป็นสัญญา การเข้าร่วมนี้จึงถือเป็นการแสดงเจตนาตามสัญญา

2) ไม่ผูกเงื่อนไขการชิงโชคไว้กับข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมชิงโชคไม่ต้องให้ความยินยอมเพื่อสมัครรับอีเมล แต่ให้มีตัวเลือกรับจดหมายข่าว ซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อผู้เข้าร่วมชิงโชคกรอกข้อมูลสำหรับการจับรางวัล

การสร้างตัวเลือกมีข้อดีหรือไม่? แน่นอนว่าการที่คุณจัดกิจกรรมชิงโชครางวัลก็เพื่อสร้างโอกาสในการขายมากขึ้น และถ้าคุณมีตัวเลือกให้เลือกสมัครรับอีเมล คุณจะสร้างโอกาสในการขายได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม โอกาสในการขายของคุณจะมีคุณภาพสูงขึ้น เนื่องจาก คุณได้เสนอของฟรีให้กับผู้บริโภคจริงๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใดๆ ซึ่งจะสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าไม่ว่าพวกเขาจะสมัครรับจดหมายข่าวของคุณหรือไม่ก็ตาม

เหตุใด PDPA จึงทำให้การโฆษณาและการจัดกิจกรรมแจกของทำได้ยากขึ้น

ในอดีตหลายองค์กรใช้การจัดกิจกรรม "แจกของ" การชิงโชครางวัลหรือการจัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกันเพื่อเพิ่มยอด subscriber ในทางที่ผิด หลายคนอาจเคยกรอกอีเมลเพื่อรับของแจกฟรี จากนั้นอีกไม่นานก็ได้รับอีเมลส่งเสริมการขายโดยไม่คาดคิด ถ้าเจอแบบนี้คงไม่ใช่เรื่องสนุกเท่าไร

PDPA ทำให้การขอความยินยอมเพื่อสมัครรับอีเมลส่งเสริมการขายมีความโปร่งใสชัดเจนมากขึ้น จริงๆ แล้วผู้บริโภครู้เสมอว่าจะให้ความยินยอมเพื่ออะไร และถ้าจะต้องแลกข้อมูลกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ก็คงเรียกว่าให้ของ “ฟรี” ไม่ได้ นักการตลาดจึงไม่ควรใช้คำว่า “ฟรี” หรือ “ของฟรี” เพื่อจัดกิจกรรมแจกของผ่าน Email marketing แต่ให้ใช้คำที่ชัดเจนเพื่อสื่อถึงสิ่งที่องค์กรเสนอให้ “เพื่อแลกกับ” การสมัครรับจดหมายข่าวแทน และแจ้งให้ผู้บริโภครู้ว่าจะขอความยินยอมเพื่อใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับองค์กรมากขึ้น

สร้าง Privacy Policy ง่ายๆ

อย่างมืออาชีพ ถูกต้องตาม PDPA

สร้าง Policy ตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

18/01/23

Data SecurityData PrivacyID Card

บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย

โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com

©2024 nDataThoth Limited All Rights Reserved.

HelpTerms of UsePrivacy Policy