จากการประกาศบังคับใช้พรบ ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสม ทั้งยังต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการนำข้อมูลต่าง ๆ มาเปิดเผยและใช้งาน อย่างไรก็ตาม ยังมีบางบริษัทที่ไม่มีการปรับตัวและดำเนินการไม่ตรงตามที่ PDPA กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำให้มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต
พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จึงเป็นตัวช่วยที่สร้างความชัดเจน หากบริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อปกป้องข้อมูลของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอทราบว่าข้อมูลที่มีการนำไปประมวลผลมีข้อมูลอะไรบ้าง ขอให้หยุดการใช้ข้อมูล ไปจนถึงการลบข้อมูลออกจากระบบ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการใช้รูป คลิป และการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์มาใช้งาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง หากนำข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง PDPA Pro จะพาทุกคนไปดูกันว่า ถ้ามีการนำรูปภาพ คลิป และข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปใช้งาน จะผิดกฎหมายหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย
เนื่องจากพรบ ข้อมูลส่วนบุคคลจะมีการบังคับกับองค์กรที่นำข้อมูลไปใช้เป็นหลัก การใช้งานระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลธรรมดา ที่มีการนำรูปของเพื่อนไปโพสต์บนโซเชียลมีเดียเพื่อให้เพื่อนดู อาจจะไม่เข้าข่ายกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนบุคคล ซึ่งกฎหมาย PDPA จะไม่เข้าไปยุ่งในส่วนตรงนี้ แต่จะบังคับใช้ เมื่อมีการนำข้อมูลออกมาใช้งานและเป็นการละเมิดสิทธิ หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
แต่ถ้าหากมีการโพสต์รูปภาพลงในพื้นที่ส่วนตัว และทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อบุคคลนั้น ๆ ที่อยู่ภายในรูปภาพ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมา จะมีกฎหมายที่คุ้มครองในนี้อยู่แล้ว นั่นก็คือกฎหมายแพ่งว่าด้วยการถูกละเมิด เพราะฉะนั้น สามารถมั่นใจได้ว่าเมื่อมีการโพสต์รูปถ่ายเพื่อนลงโซเชียลมีเดีย จะไม่ผิดกฎหมาย PDPA อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อน หรือไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดตามมา รวมไปถึงข้อความบรรยายเกี่ยวกับรูปภาพ และคอมเมนต์ต่าง ๆ ด้วย
การนำรูปจากกล้องหน้ารถหรือกล้องวงจรปิดมาลงหรือนำมาใช้งาน ถือเป็นการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นในระดับหนึ่ง แต่หากเป็นการใช้งานเพื่อบันทึกภาพของรถขณะขับรถหรือเป็นการบันทึกภาพเพื่อดูว่ามีใครเข้า-ออกพื้นที่นั้น ๆ บ้าง ก็ถือว่าเป็นการใช้งานตามปกติ ซึ่งความผิดตามพรบ ข้อมูลส่วนบุคคล จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานรูปหรือคลิปเป็นหลัก ว่าสุดท้ายแล้ว ข้อมูลที่มีการบันทึกเอาไว้ จะนำไปใช้ทำอะไรนั่นเอง
การที่สถานศึกษาเอารูปนักเรียนขึ้นป้ายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดีหรือนำไปใช้เพื่อโปรโมต จำเป็นจะต้องมีการขอความยินยอมอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณีไป ซึ่งตัวเจ้าของข้อมูล (นักเรียนเจ้าของรูป) สามารถถอนความยินยอมได้ทันที เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาจทำให้เกิดความกังวลใจ และความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลด้วย
การทำ Scrape Public Information เป็นการรวบรวมข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจเกี่ยวกับการตลาดบนสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะช่วยในการสร้างฟีดแบคและนำไปปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งการทำ Scrape Public Information นั้น จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็น การนำมาใช้มีความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคล และความคาดหวังของผู้ลงบทความนั้น ๆ ซึ่งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล จำเป็นที่จะต้องพิจารณาที่วัตถุประสงค์และบริบทของข้อมูลเป็นหลัก
สำหรับการตัดสินใจทำ Scrape Public Information ควรที่จะต้องใช้เครื่องมืออย่าง Data Protection Impact Assessment (DPIA หรือ การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) เพื่อเข้ามาช่วยในการประเมินผลกระทบจากกิจกรรมที่ทำ หากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง การทำ DPIA ก็จะเข้ามาช่วยป้องกันได้
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพรบ ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจึงควรทำความเข้าใจถึงขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่ผิด ขณะที่องค์กรและภาคธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัวและให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งานตามหลัก PDPA ด้วยเช่นกัน
หากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยในการสร้าง Privacy Policy ที่ครอบคลุม รวดเร็ว และตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างตรงจุด PDPA Pro มาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างนโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีการเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามที่ PDPA กำหนดไว้อีกต่อไป สร้าง Privacy Policy ได้แล้ววันนี้ ที่ PDPA Pro
บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย
โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com