กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดความเป็นส่วนตัวสำหรับการใช้ เก็บรวมรวม หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของไทย โดยกำหนดให้ภาคธุรกิจในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจัดทำมาตรการความปลอดภัยสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ภาคธุรกิจเป็นผู้ควบคุมดูแล ในที่นี่อาจใช้วิธีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบผ่าน Privacy Policy หรือแจ้งเตือนผ่าน Notice หรือจะจัดทำข้อตกลงหรือสัญญากับคู่สัญญาที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลก็ได้
Data Processing Agreement (DPA) หรือสัญญาเกี่ยวกับการใช้หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายซึ่งต้องทำขึ้นระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น บริษัทผู้ว่าจ้าง) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (เช่น ผู้ให้บริการภายนอกหรือบุคคลอื่น โดยอาจเป็นผู้ให้บริการด้านบัญชี การตลาด ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ดูแลระบบ IT) ที่ดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยสามารถจัดทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรหรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประมวลผล เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) กับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) สัญญาจึงมีความสำคัญเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจความรับผิดชอบและความรับผิดของตน
กฎหมาย PDPA กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ไว้ว่า ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น หากไม่มีคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่ได้
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมักเป็นบริษัทที่ว่าจ้างผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมักเป็นบริษัทภายนอก เพื่อดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทผู้ว่าจ้าง เช่น บริษัทว่าจ้างสำนักงานตรวจสอบบัญชีเพื่อตรวจสอบบัญชี สอบทานรายงานการสอบบัญชี งบการเงินของบริษัท บริษัทว่าจ้างสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายเพื่อให้ความเห็นในประเด็นกฎหมาย และดำเนินการด้านกฎหมายของบริษัท บริษัทว่าจ้างบริษัทขนส่งเพื่อให้ดำเนินการส่งสินค้า บริษัทว่าจ้าง Agency โฆษณาเพื่อดูแลเรื่องการตลาดและการทำสื่อออนไลน์ของบริษัท เป็นต้น
ภาคธุรกิจมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินธุรกิจโดยอาศัยการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งภายในองค์กรและแลกเปลี่ยนกับองค์กรอื่น Data Processing Agreement (DPA) จึงมีความจำเป็นกับภาคธุรกิจ เพราะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นบริษัทผู้ว่าจ้าง และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นบริษัทภายนอกซึ่งเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย PDPA จำเป็นต้องมีการประมวลผลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกัน
ดังนั้น การจัดทำ Data Processing Agreement (DPA) ซึ่งเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ที่กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประมวลผล จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบและความรับผิด และยังเป็นการป้องกันการที่คู่สัญญาจะนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือเกินอำนาจได้
หลายท่านอาจมีความสับสนระหว่าง Data Processing Agreement (DPA) กับ Vendor Privacy Policy หากจะให้อธิบายโดยง่าย Vendor Privacy Policy เป็นนโยบายความเป็นส่วนตัวในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นการประกาศแจ้งสำหรับการใช้และเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากคู่ค้าหรือผู้ให้บริการที่เสนอราคาในการจัดซื้อจัดจ้าง และเมื่อต่อมาบริษัทได้คัดเลือกและจัดซื้อจัดจ้างบริษัทภายนอกเรียบร้อยแล้ว บริษัทผู้ว่าจ้างจึงทำสัญญาเกี่ยวกับการใช้หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกับบริษัทภายนอก หรือ Data Processing Agreement (DPA) เพื่อกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกัน
โดยทั่วไป DPA ควรมีขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดของข้อมูลที่จะนำไปประมวลผล วิธีป้องกัน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ควรกำหนดรายละเอียด เช่น
โดยระบุถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล ระบุผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล วิธีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไปตามการปฏิบัติตาม PDPA และระยะเวลาในการประมวลผลที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังควรครอบคลุมถึงคำจำกัดความของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยอาจเป็นลูกค้าของบริษัทหรือผู้ใช้งานเว็บไซต์ ประเภทของข้อมูลที่จะประมวลผล วิธีและที่จัดเก็บข้อมูล และเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญา
กฎหมาย PDPA กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบในการออกคำสั่งให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการในข้อมูลส่วนบุคคล และกำหนดวิธีให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจัดการข้อมูลเหล่านั้นให้ถูกต้องตามกฎหมาย
กฎหมาย PDPA กำหนดให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การร่วมมือกับหน่วยงานที่มีอำนาจในกรณีที่ต้องการสอบสวน และการรายงานผลหากมีการละเมิดข้อมูลเกิดขึ้น การให้สิทธิในการตรวจสอบ การเก็บบันทึก การลบหรือการส่งคืนข้อมูลเมื่อสิ้นสุดสัญญา ทั้งนี้ การประมวลผลข้อมูลจะต้องทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น
เป็นการระบุถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูล วิธีการตรวจสอบย้อนกลับ การรักษาความลับ ความสมบูรณ์ ความพร้อมใช้งาน และความยืดหยุ่นของระบบการประมวลผลข้อมูลและบริการให้เป็นไปตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงค่าใช้จ่ายและผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ
หากผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นบริษัทภายนอกต้องการว่าจ้างบริษัทอื่นอีกต่อ เพื่อร่วมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ก็จำเป็นต้องมีส่วนที่สรุปความสัมพันธ์แยกไว้ในสัญญาย่อยด้วย ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือบริษัทที่ว่าจ้างจะต้องให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรในการใช้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม เพื่อให้สัญญารัดกุมมากยิ่งขึ้น
การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการประกอบธุรกิจของภาคธุรกิจในปัจจุบัน การจัดทำเอกสาร DPA จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ภาคธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้การดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องกับกฎหมาย PDPA อย่างไรก็ตาม การจัดทำ DPA อาจใช้เวลานานเนื่องจากมีรายละเอียดมาก บริการจาก PDPA Pro จะช่วยคุณสร้าง Data Processing Agreement (DPA) แบบมือโปร จบ ครบในราคาเดียว เพื่อให้ DPA ของคุณถูกต้องแม่นยำและสอดคล้องกับกฎหมาย PDPA
บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
7 อาคารซัมเมอร์ พอยท์ ชั้นที่ 2 ซอยสุขุมวิท 69
แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย
โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com