Back

อะไรคือ Cookies consent ทำไมเจ้าของเว็บไซต์ต้องมี

อะไรคือ Cookies consent ทำไมเจ้าของเว็บไซต์ต้องมี

   

เมื่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) เริ่มบังคับใช้ในไทยแล้ว เจ้าของเว็บไซต์ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA จะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA เช่น การขอความยินยอมการใช้ข้อมูลจากผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แจ้งวัตถุประสงค์ว่าเราจะจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง นำข้อมูลไปใช้เพื่ออะไร เป็นต้น การขอความยินยอมจึงมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามประเภทข้อมูลที่เจ้าของเว็บไซต์จะขอเก็บ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักการขอความยินยอมรูปแบบหนึ่งเรียกว่า cookie consent กัน

Cookie คืออะไร

“คุกกี้” เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่แสดงประวัติการเข้าชมเว็บไซต์และการดาวน์โหลด ซึ่งประโยชน์และความจำเป็นของคุกกี้ก็คือเมื่อเราเคยเข้าใช้งานเว็บไซต์หนึ่งแล้ว คุกกี้จะจดจำข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น ตำแหน่งโลเคชั่นของผู้ใช้งาน ภาษาการใช้งานหน้าเว็บ หรือข้อมูลของผู้ใช้เพื่อทำการตลาดโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย (Targeting ads) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ของเราจดจำเว็บไซต์นั้นได้เมื่อกลับเข้าไปใช้งานเว็บไซต์อีกครั้ง การใช้ไฟล์คุกกี้ถือเป็นการจัดเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเช่นเดียวกัน ดังนั้น เจ้าของเว็บไซต์หรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งผู้ใช้งานเพื่อขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

ประเภทของคุกกี้

คุกกี้ที่จำเป็น ( Necessary Cookies) ซึ่งจะช่วยทำให้เว็บไซต์ใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น การเข้าระบบเว็บไซต์ Log in หรือการชำระเงินผ่าน E-payment คุกกี้เก็บข้อมูลการใช้งาน (Analytic หรือ Statistics หรือ Performance Cookies) เป็นคุกกี้ทางสถิติที่รวบรวมและรายงานข้อมูลสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ คุกกี้ฟังก์ชันการทำงาน (Preferences หรือ Functional Cookies) ที่เป็นการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน เช่น จดจำการ log in ทำให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์ครั้งต่อไปไม่ต้อง log in ซ้ำอีก และภาษาในเว็บไซต์ที่เราเลือกใช้ คุกกี้โฆษณา (Marketing cookies) ซึ่งมักเป็นคุกกี้จากเว็บไซต์บุคคลที่สามที่เผยแพร่หรือลงโฆษณา มีไว้ใช้ติดตามผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องและที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้งานรายบุคคล

Cookie consent คืออะไร

Cookie consent คือ การขอความยินยอมเพื่อจัดเก็บไฟล์คุกกี้และข้อมูลต่างๆ จากผู้ใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งไฟล์คุกกี้นี้ก็ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลประเภทหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลหลายรูปแบบจากการเข้าชมเว็บไซต์ เจ้าของเว็บไซต์ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลตามกฎหมาย PDPA ด้วย

กฎหมายเรื่องคุกกี้ใน PDPA

เนื่องจาก PDPA มีความคล้ายคลึงกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรป หรือ GDPR ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องขอความยินยอม (consent) การจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลก่อน โดยการเก็บ ใช้ เปิดเผย และถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอม ยกเว้นจะมีเหตุอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย สำหรับการใช้คุกกี้ มีสาระสำคัญตามกฎหมายดังนี้ แจ้งให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ทราบว่ามีการใช้คุกกี้ ระบุวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวม ขอความยินยอมการจัดเก็บคุกกี้ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ข้อความไม่กำกวม ไม่สร้างเงื่อนไขให้กับผู้ใช้เว็บไซต์ ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเลือกได้ว่าจะให้เว็บไซต์ใช้คุกกี้หรือข้อมูลประเภทใดได้บ้าง การแจ้งขอจัดเก็บคุกกี้ถือเป็นหลักฐานในการปฏิบัติตาม PDPA เจ้าของข้อมูลสามารถขอยกเลิกหรือถอนความยินยอมได้ทุกเมื่อ โดยให้เจ้าของเว็บไซต์มีกระบวนการรับคำร้องจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ควรเป็นวิธีที่ง่ายไม่ซับซ้อน และไม่กำหนดเงื่อนไข อาจใช้วิธีการยื่นแบบฟอร์ม ส่งคำร้องผ่านช่อง chat หรือส่งอีเมลก็ได้

ใครบ้างที่ต้องทำตามกฎหมาย PDPA

นอกจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตาม PDPA แล้ว สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. เจ้าของเว็บไซต์ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เป็นองค์กรที่เก็บหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บริษัทการตลาดที่เก็บข้อมูลลูกค้า บริษัทขายของออนไลน์

  2. เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ประมวลผลข้อมูลของลูกค้าหรือบุคคลใดๆ ตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  3. เป็นองค์กรที่อยู่นอกราชอาณาจักรแต่มีการเสนอขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าในประเทศไทย มีการโอนถ่ายข้อมูล อาทิ การเฝ้าติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค อาจจะเป็น การตั้งกลุ่มเป้าหมายทำโฆษณาออนไลน์ หรือการรับจองรองแรมผ่านเว็บไซต์ ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด

บทลงโทษตามกฎหมาย PDPA หากไม่ทำตาม

ปัจจุบันกฎหมาย PDPA ประกาศขยายเวลาบังคับใช้เต็มรูปแบบออกไปจนถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2565 โดยบทลงโทษมีทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางปกครอง ซึ่งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในประเทศไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท จำคุกสูงสุด 1 ปี และต้องจ่ายค่าเสียหายตามจริง รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษสูงสุดสองเท่าของค่าเสียหายตามจริง หากผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลอาจต้องรับผิดด้วย

นอกจากอัตราโทษตามกฎหมายแล้ว องค์กรที่ไม่ปฏิบัติตาม PDPA หากเกิดความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ไม่จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม จนข้อมูลเกิดรั่วไหล ก็อาจได้รับบทลงโทษทางสังคมอีก เช่น องค์กรขาดความน่าเชื่อถือ เสียชื่อเสียง จนกระทั่งเสียรายได้จากฐานลูกค้าในอนาคต

Cookies Checklist ต้องทำอะไรบ้างให้สอดคล้องกับ PDPA

เมื่อการขอความยินยอมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับ PDPA เจ้าของเว็บไซต์มีขั้นตอนการจัดทำ Cookie consent ดังนี้ รู้ประเภทและวัตถุประสงค์ของการใช้คุกกี้ จัดทำแบนเนอร์คุกกี้บนเว็บไซต์ สร้างแบนเนอร์คุกกี้บนเว็บไซต์ใน 2 นาทีที่ Cookie Wow แยกประเภทคุกกี้ ทั้งคุกกี้ที่จำเป็น (necessary cookies) และคุกกี้ที่ไม่จำเป็น (non-necessary cookies) ขอความยินยอมการใช้ตามวัตถุประสงค์จากผู้ใช้งานเว็บไซต์ก่อนที่จะใช้คุกกี้ที่ไม่จำเป็น ให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ตั้งค่าการใช้คุกกี้ได้ และระบุข้อมูลด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เข้าถึงนโยบายการใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ได้ง่าย มีระบบการตรวจสอบ ที่จัดเก็บเอกสารและข้อความยินยอมให้ใช้คุกกี้ของผู้ใช้งาน จัดเก็บ cookie consent ไว้ระยะเวลาหนึ่งตามความจำเป็นตามกฎหมาย

การขอความยินยอมให้ใช้คุกกี้ นับว่าเป็นข้อปฏิบัติหนึ่งตามกฎหมาย PDPA หากเว็บไซต์ของคุณมีการให้บริการสินค้าหรือการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ เราขอแนะนำให้สร้างแบนเนอร์คุกกี้ได้ที่ Cookie Banner เพื่อขอความยินยอมการใช้คุกกี้จากผู้ใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งตัวแบนเนอร์นี้จะปรากฏขึ้นเมื่อผู้ใช้งานเข้าเว็บไซต์ทุกครั้ง และถือเป็นหลักฐานการยินยอมให้ใช้คุกกี้จากผู้ใช้งาน

ในบทความต่อไปเราจะมาดูกันว่าองค์ประกอบของแบนเนอร์คุกกี้มีอะไรบ้าง และจะต้องออกแบบอย่างไรให้ใช้งานได้จริง

สร้างแบนเนอร์คุกกี้ให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA ได้เลยที่นี่ Cookie Wow


บทความที่เกี่ยวข้อง

เจาะลึกการสร้าง Cookies Consent Banner ที่สอดคล้องตาม PDPA ทำอย่างไร
ทำเว็บไซต์ให้สอดคล้องกฎหมาย PDPA ด้วย Cookie Wow

สร้าง Privacy Policy ง่ายๆ

อย่างมืออาชีพ ถูกต้องตาม PDPA

สร้าง Policy ตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

18/01/23

Data SecurityData PrivacyID Card

บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย

โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com

©2024 nDataThoth Limited All Rights Reserved.

HelpTerms of UsePrivacy Policy