Back

HR Privacy Policy กับ Recruitment Privacy Policy ต่างกันอย่างไร บริษัทจำเป็นต้องมีไหม พร้อมสิ่งที่ HR ควรรู้

HR Privacy Policy กับ Recruitment Privacy Policy ต่างกันอย่างไร บริษัทจำเป็นต้องมีไหม พร้อมสิ่งที่ HR ควรรู้



    พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA (Privacy Data Protection Act) กำหนดให้ธุรกิจและองค์กรมีฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ซึ่งมีหน้าที่ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในที่นี้อาจเป็นลูกค้า พนักงานในองค์กร หรือคู่ค้า ที่ภาคธุรกิจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ และนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ขอความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลไปใช้ โดยอาจใช้วิธีการแจ้งเตือนผ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) หรือการแจ้งเตือนหน้าเว็บไซต์ (Notice)

ตัวอย่างเช่น หากองค์กรประกาศรับสมัครพนักงานผ่านเว็บไซต์จัดหางานก็จะต้องแจ้งผ่านฟอร์มหรือแจ้งในระบบรับสมัครให้ผู้สมัครงานที่เป็นเจ้าของข้อมูลทราบว่าจะมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ วันเกิด ประวัติการศึกษา และแจ้งวัตถุประสงค์การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้สำหรับกระบวนการรับสมัครงานเท่านั้น

กฎหมาย PDPA สำหรับ HR บริษัทจำเป็นต้องมี Privacy Policy หรือไม่

แผนกบุคคล หรือ HR มีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่หลากหลาย ตั้งแต่การสรรหาคัดเลือกบุคลากร การว่าจ้าง การเบิกจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ดูแลสวัสดิการบุคลากร ทำให้พนักงานในแผนก HR ต้องบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยทั้งของบุคคลที่สมัครงานกับบริษัท พนักงานในบริษัท รวมถึงพนักงานเก่าที่ที่องค์กรได้เลิกจ้างไปแล้ว โดยจะต้องมีมาตรการที่รัดกุมมากเพียงพอไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป มิฉะนั้น องค์กรก็จะได้รับโทษทางกฎหมาย PDPA และยังเสียความน่าเชื่อถืออีกด้วย ดังนั้น HR จึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ดูแลได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย PDPA

สิ่งที่ HR จำเป็นต้องทำตาม PDPA คือ กำหนดนโยบายเพื่อแจ้งขอความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครงานหรือพนักงานในองค์กรเพื่อขอใช้ เก็บรวมรวบหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น เพื่อให้การแจ้งขอ consent มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น จึงควรแยกการแจ้งขอความยินยอมผ่าน Privacy Policy ตามประเภทการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลเพื่อให้การแจ้งเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งออกเป็น HR Privacy Policy กับ Recruitment Privacy Policy

HR Privacy Policy คืออะไร

HR Privacy Policy เป็นนโยบายความเป็นส่วนตัวฝ่ายบุคคล โดยภาคธุรกิจที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานในองค์กร หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เพื่อใช้ยื่นภาษีหรือประกันสังคม จะต้องมีหน้าที่แจ้งจุดประสงค์และแนวปฏิบัติของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ฐานในการประมวลผลข้อมูลและสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA

นอกจากนี้ HR Privacy Policy ยังครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติ และมาตรการจัดการด้านความปลอดภัยของบริษัท เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทนำข้อมูลของพนักงานไปประมวลผล รวมทั้งแจ้งนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรักษา และมาตรการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่พนักงานไม่ได้เป็นลูกจ้างขององค์กรอีกต่อไป และหากองค์กรมีความจำเป็นที่จะตรวจสอบหรือสังเกตการณ์การทำงานของบุคลากรผ่านอีเมล คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ จะต้องมีการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลให้รับทราบ พร้อมระบุถึงเหตุผลของการดำเนินการดังกล่าวด้วย

Recruitment Privacy Policy คืออะไร

Recruitment Privacy Policy เป็นนโยบายความเป็นส่วนตัวด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร โดยภาคธุรกิจที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน เช่น ชื่อ-นามสกุล ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา ประวัติสุขภาพ ไปจนถึงประวัติอาชญากรรม เพื่อใช้ในกระบวนการก่อนการพิจารณาจ้างงาน การประกาศโฆษณารับสมัครงาน การสมัครงาน การคัดเลือก และการสัมภาษณ์

บริษัทมีหน้าที่ต้องแจ้งวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ฐานในการประมวลผลข้อมูลและขอความยินยอม (Consent) โดยแจ้งการขอใช้หรือเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านใบสมัคร หรือ Recruitment Privacy Policy ในระบบรับสมัคร นอกจากนี้ Recruitment Privacy Policy ยังครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติ ไปจนถึงมาตรการจัดการด้านความปลอดภัยของบริษัท รวมถึงกระบวนการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่าง Recruitment Privacy Policy กับ HR Privacy Policy

  • Recruitment Privacy Policy - ใช้สำหรับประกาศแจ้งผู้สมัครงานในระหว่างกระบวนการรับสมัครพนักงาน
  • HR Privacy Policy - ใช้สำหรับประกาศแจ้งพนักงานปัจจุบันในองค์กร

ภาคธุรกิจที่มีการประกาศโฆษณารับสมัครงานและขอรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงาน เช่น ชื่อ-นามสกุล ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา ประวัติสุขภาพ ไปจนถึงประวัติอาชญากรรม เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาและคัดเลือกเพื่อว่าจ้าง บริษัทควรเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นกับการพิจารณาเพื่อรับเข้าทำงานเท่านั้น โดยใช้ฐานสัญญาหรือขอความยินยอมโดยชัดแจ้งได้ ซึ่งสามารถแจ้งผ่านฟอร์มหรือแจ้งในระบบรับสมัครก็ได้ สำหรับขั้นตอนการรับสมัครงาน เจ้าของข้อมูลมีสถานะเป็นผู้สมัคร กรณีนี้บริษัทจะใช้การขอความยินยอม (Consent) เป็นหลัก โดยแจ้งการขอใช้หรือเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านใบสมัคร หรือ Recruitment Privacy Policy ในระบบรับสมัคร

ส่วนในขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน ภาคธุรกิจจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครที่ถูกบันทึกและเก็บรักษาไว้นั้นเกี่ยวข้องและจำเป็นต่อกระบวนการรับสมัครงาน และบันทึกดังกล่าวควรจะถูกลบหรือทำลายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ บริษัทอาจมีความจำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบภูมิหลังและข้อเท็จจริงต่างๆ ของตัวผู้สมัครจากบุคคลที่สาม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้สมัครได้ จึงควรทำเฉพาะกรณีที่ผู้ว่าจ้างมีความจำเป็นและไม่มีทางเลือกอื่น โดยบริษัทอาจแจ้งการขอใช้หรือเก็บรวบรวมข้อมูลผ่าน Recruitment Privacy Policy ในระบบรับสมัครหรือแจ้งก่อนการสัมภาษณ์งานได้เช่นเดียวกัน

ต่อมาเมื่อได้รับคัดเลือกเป็นพนักงานแล้ว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสถานะเป็นพนักงาน กรณีนี้บริษัทจะใช้ฐานสัญญาโดยทำสัญญาจ้างงาน และใช้ฐานความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมาย (legal obligation) ตามกฎหมายแรงงานเป็นหลัก ส่วนการแจ้งจุดประสงค์ แนวปฏิบัติของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ จะแจ้งเพิ่มเติมผ่าน HR Privacy Policy เพื่อขอความยินยอม (Consent) จากพนักงานผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

บทสรุป

PDPA กำหนดว่าธุรกิจจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์เพื่อขอใช้ รวบรวมหรือเปิดข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าของข้อมูล ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้มีเพียงลูกค้าของบริษัทเท่านั้น แต่ยังมีผู้สมัครงานและพนักงานปัจจุบันอีกด้วย ในฐานะที่แผนก HR เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งผู้สมัครงานและของพนักงานในองค์กร ก็จำเป็นต้องขอความยินยอมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลผ่าน Privacy Policy แยกตามแต่ละประเภทเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทสามารถจัดทำ HR Privacy Policy สำหรับพนักงานปัจจุบัน และผ่าน Recruitment Privacy Policy สำหรับผู้สมัครงาน แบบมือโปรกับ PDPA Pro ง่ายๆ ใช้ได้กับทุกธุรกิจ เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ได้อย่างถูกต้อง

สร้าง Privacy Policy ง่ายๆ

อย่างมืออาชีพ ถูกต้องตาม PDPA

สร้าง Policy ตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

3 สิ่งที่ควรรู้ ถ่ายรูปบัตรประชาชนให้คนอื่นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

18/01/23

Data SecurityData PrivacyID Card

บริษัท เอ็นเดต้าธอธ จำกัด
1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย

โทร: 02-024-5560
sales@ndatathoth.com

©2024 nDataThoth Limited All Rights Reserved.

HelpTerms of UsePrivacy Policy